top of page

10 พฤติกรรมของผู้ใช้งานที่เสี่ยงถูก Cyber Attack (Cyber Security 101)


10 พฤติกรรมของผู้ใช้งานที่เสี่ยงถูก Cyber Attack (Cyber Security 101)

ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของพนักงานเพียง 1 คน อาจหมายถึงความเสี่ยงของทั้งองค์กรที่จะเกิด Cyber Attack จนนำมาซึ่งความเสียหายมากมายในทันที บทความนี้จะนำเสนอ 10 พฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้งาน ที่เพิ่มความเสี่ยงให้องค์กรของคุณถูกโจมตีโดยไม่รู้ตัว ลองสำรวจพฤติกรรมของพนักงานว่ามี 10 พฤติกรรมนี้หรือไม่เพื่อเพิ่มความปลอดภัยจากไซเบอร์ (Cyber Security) ในองค์กร และลดโอกาสการถูกโจมตี (Cyber Attack)


1. การใช้ซอฟต์แวร์ที่ล้าสมัย

ช่องโหว่ในระบบปฏิบัติการ เบราว์เซอร์ และซอฟต์แวร์อื่น ๆ บนพีซี มือถือ แท็บเล็ต และอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของคุณเป็นหนึ่งในวิธีการที่แฮกเกอร์สามารถใช้โจมตีองค์กรได้ ซึ่งในปี 2020 ช่องโหว่ต่างๆเหล่านี้ถูกเจอมากกว่า 18,100 รายการ และมีจำนวนช่องโหว่ของซอฟต์แวร์ใหม่มากกว่า 50 รายการต่อวัน

วิธีการปัญหาซอฟต์แวร์ที่ล้าสมัย

การตั้งค่าให้โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ในเครื่องให้มีการอัปเดตแบบอัตโนมัติ รวมทั้งมีการตรวจสอบ อย่างสม่ำเสมอ (Maintenance Services) ก็สามารถปิดช่องโหว่นี้ได้เป็นอย่างดี


2. การตั้งรหัสผ่านที่ง่ายต่อการคาดเดา

ปัญหาส่วนใหญ่ที่คนพบเจอในยุคที่ทุกอย่างต้องมีการเข้าสู่ระบบ คือ การลืมรหัสผ่าน ซึ่งวิธีแก้ปัญหาของผู้ใช้งานส่วนใหญ่เป็นการใช้รหัสผ่านเดิม ๆ สำหรับทุกบัญชีการใช้งาน รวมถึงการตั้งรหัสผ่านอย่างง่าย ๆ เพื่อป้องกันการลืม แต่การตั้งรหัสที่เหมือนกัน หรือสามารถคาดเดาได้อย่างง่ายดายนั้นเป็นโอกาสสำคัญสำหรับผู้ไม่ประสงค์ดีในการโจมตีระบบขององค์กรเรา

วิธีการปัญหาการตั้งรหัสผ่าน

เพื่อป้องกันการถูกโจมตี หรือถูก Cyber Attach แบบง่าย ๆ ผู้ใช้งานจึงควรตั้งรหัสผ่านที่มีความแข็งแรง ยากต่อการคาดเดา และหลีกเลี่ยงการใช้รหัสผ่านเดิมซ้ำ ๆ รวมถึงเปิดใช้งานระบบยืนยันตัวตนแบบ two-factor authentication (2FA) เพื่อป้องกันการโดนขโมยข้อมูลจากเหล่าแฮกเกอร์


3. การใช้ Wi-Fi สาธารณะ

ภัยคุกคามแอบแฝงอาจมาในรูปแบบของการล่อลวงให้ใช้ Wi-Fi สาธารณะ แฮ็กเกอร์สามารถใช้เครือข่ายเดียวกันเพื่อดักฟังการใช้งานอินเทอร์เน็ต เข้าถึงบัญชีและขโมยข้อมูลประจำตัวของคุณ ดังนั้นพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ Wi-Fi สาธารณะ หากจำเป็นต้องใช้ก็ไม่ควรลงชื่อเข้าใช้บัญชีสำคัญใด ๆ ในขณะที่เชื่อมต่อ


การใช้ Wi-Fi สาธารณะ

4. ไม่คิดก่อนคลิก!

Phishing หรือการหลอกล่อให้เหยื่อกดคลิกลิงก์หรือเปิดไฟล์บางอย่างที่มาพร้อมกับมัลแวร์นั้น ถือเป็นวิธีการที่แฮกเกอร์ใช้บ่อยที่สุด ซึ่งหากหลงกลกับข้อความเชิญชวนต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะถูกขโมยข้อมูลในทันที ดังนั้นควรตรวจเช็กแหล่งที่มาและความน่าเชื่อถือของลิงก์ ไฟล์ หรืออีเมลต่าง ๆ ให้ดีก่อนจะคลิกใด ๆ และการ Phishing นั้นส่วนมากจะมาในรูปแบบการส่งเมลขององค์กร ซึ่งมีการปลอมแปลงหน้าตาอีเมลและเนื้อหาให้ใกล้เคียงกับที่ได้รับมากที่สุดเพือให้ผู้ใช้งานคิดว่าเนื้อหาเหล่านั้นเป็นของจริง และทำการกดเพื่อดูข้อมูลเพิ่ม หรือแม้กระทั่งไปกรอกข้อมูลตามลิงค์ที่แฮกเกอร์ทำดักทางไว้


ดังนั้นองค์กรจึงควรมีการให้ความรู้แก่พนักงานในเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber security) เพื่อให้เกิดความตระหนักในการระมัดระวังการใช้งานผ่านเครือข่าย รวมทั้งองค์กรควรจะมีการทำแบบทดสอบ phishing test และประเมินว่าหากเกิดเหตุการณ์ phishing ขึ้นจริง ๆ พนักงานสามารถรับมือได้ทุกคนหรือไม่


5. ไม่มีโปรแกรมป้องกัน Virus หรือ Malware ในอุปกรณ์อื่นๆ

ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าในยุคที่มีภัยคุกคามทางไซเบอร์มากมาย คุณและองค์กรของคุณควรมีการป้องกันมัลแวร์จากผู้ให้บริการที่มีชื่อเสียงในพีซีและแล็ปท็อปทั้งหมดของคุณ แต่มีพวกเรากี่คนที่ขยายความปลอดภัยแบบเดียวกันนี้ไปยังอุปกรณ์เคลื่อนที่และแท็บเล็ตของเรา การวิจัยชี้ให้เห็นว่าเราใช้เวลาเกือบ 5,000 ชั่วโมงในแต่ละปีกับแกดเจ็ตเหล่านี้ และมีโอกาสมากมายที่จะเจอแอพและเว็บไซต์ที่เป็นอันตรายในเวลานั้น ปกป้องอุปกรณ์ของคุณให้ครอบคลุมทุกอุปกรณ์ อย่าให้รูรั่วที่มีเพียงจุดเดียวทำให้เกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์อื่น ๆ ที่ตามมาในองค์กรของคุณ

ไม่มีโปรแกรมป้องกัน Virus หรือ Malware ในอุปกรณ์อื่นๆ

6. การเข้าเว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัย

สัญลักษณ์ HTTPS ของเว็บไซต์ต่าง ๆ นั้นถือเป็นจุดสังเกตที่ง่ายที่สุดที่บอกเราได้ว่าเว็บไซต์นั้นมีความปลอดภัย และมีความน่าเชื่อของเว็บไซต์เพียงใด ถึงแม้ว่าบางครั้งการมี HTTPS ก็อาจจะไม่สามารถรับประกันได้ 100% ว่าเว็บไซต์นั้นปลอดภัย แต่อย่างน้อย ๆ ก็จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบก่อนใช้งาน และมีโอกาสรอดพ้นจากการถูกขโมยข้อมูลมาแล้ว ดังนั้นก่อนที่คุณเข้าใช้งานเว็บไซต์ใด ๆ ที่ไม่รู้จัก การสังเกตสัญลักษณ์ HTTPS ตรง URL ของเว็บไซต์ ก็ยังถือเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรก


7. ใช้ชีวิตส่วนตัวปะปนกับเรื่องงาน

อาจจะมีบางครั้งที่เผลอใช้อีเมลและรหัสผ่านของที่ทำงานไปใช้กับเรื่องส่วนตัว เช่น สั่งซื้อสินค้าออนไลน์ หรือสมัครสมาชิกเว็บไซต์ต่าง ๆ เพราะหากเว็บไซต์เหล่านั้นที่เคยเข้าใช้งานผ่านอีเมลหรือบัญชีของบริษัทเป็นเว็บไซต์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยผู้ไม่หวังดี องค์กรของก็จะมีความเสี่ยงต่อการถูกขโมยข้อมูลหรือถูกเจาะเข้าสู่ network ขององค์กร และเช่นเดียวกับการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนตัวที่ไม่มีระบบ Cyber security ที่ได้มาตรฐานเพียงพอสำหรับการทำงาน ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของถูก Cyber Attack ให้สูงขึ้นด้วยเช่นกัน


ให้ข้อมูลส่วนตัวทางโทรศัพท์

8. ให้ข้อมูลส่วนตัวทางโทรศัพท์

เช่นเดียวกับการฟิชชิงทางอีเมลและ SMS มิจฉาชีพมักจะใช้หมายเลขจริงเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในการหลอกเอาข้อมูล การป้องกันที่ดีที่สุดคือไม่ให้ข้อมูลที่ละเอียดอ่อนทางโทรศัพท์ เช็คว่าปลายสายเป็นใครและโทรมาจากไหน หรือโทรหาบริษัทโดยตรงเพื่อตรวจสอบก่อนทำธุรกรรมใด ๆ


9. การไม่สำรองข้อมูล

อาชญากรรมทางไซเบอร์สามารถสร้างความเสียหายให้กับธุรกิจมูลค่าหลายร้อยล้านต่อปี แม้ว่าเราป้องกันตัวเองอย่างดีที่สุดแต่ก็อาจจะมีช่องว่างบางอย่างที่แฮกเกอร์หาเจอ การหมั่นสำรองข้อมูลเก็บไว้เป็นประจำก็จะช่วยลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงไฟล์ไม่ได้จากการถูก Ransomware หรือการถูกมัลแวร์อื่น ๆ โจมตีทำให้ไม่สามารถใช้งานไฟล์เหล่านั้นได้ การสำรองข้อมูลไว้อย่างน้อย 3 ที่ถือเป็นการป้องกันข้อมูลไปได้มากทีเดียว


10. เชื่อมต่ออุปกรณ์อย่างไม่ระวัง

ในยุคที่ทุกอุปกรณ์เชื่อมถึงกันอย่างง่ายดาย แต่ถ้าหากไม่ระวังให้ดีแล้ว บางอุปกรณ์ของคุณก็อาจกลายเป็นช่องทางสำคัญให้ผู้ไม่หวังดีเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวและองค์กรของคุณในอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เชื่อมต่ออยู่ใน network เดียวกันนี้ได้ ตัวอย่างเช่นการใช้สายชาร์ตแบบต่อ USB ตรง ต้องบอกว่าสาย USB นั้นสามารถส่งทั้งกระแสไฟ และส่งข้อมูลได้ ดังนั้นหากต้องการชาร์ตอุปกรณ์เคลื่อนที่ใด ๆ ที่มีข้อมูลสำคัญนั้นจึงควรใช้หัวเสียบที่ต่อจากไฟโดยตรง ก็ถือเป็นการป้องกันข้อมูลรั่วไหลในเบื้องต้น



สรุป

10 พฤติกรรมที่กล่าวมาข้างต้น เป็นพฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ผู้ใช้งานอาจจะเผลอ หรือหลงลืมไป ดังนั้นในหน่วยงานจึงควรจะมีการจัดอบรมเรื่องความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ รวมถึงอัพเดทข่าวเกี่ยวกับการโจมตีทางไซเบอร์รูปแบบใหม่ ๆ ให้พนักงานอยู่เสมอ เพื่อให้ได้ตระหนักถึงความสำคัญในพฤติกรรมการใช้งานอุปกรณ์ใด ๆ ที่อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการโจมตีเข้ามายังองค์กร


รวมทั้งองค์กร โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ควรจะต้องจัดทำเทสการโจมตีรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าพนักงานในองค์กร รวมถึงระบบที่องค์กรมีอยู่ในปัจจุบันนั้นสามารถรับมือกับการโจมตีได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งหากยังไม่สามารถรับมือได้ องค์กรยังมีโอกาสในการจัดหาระบบในการป้องกัน และการจัดอบรมพนักงานก่อนที่จะถูกโจมตีจริงที่ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ทัน


X10 มีทีมผู้เชี่ยวชาญในการวางระบบ Cyber Security, Cyber Attack Test และการจัดอบรมความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยได้รับความไว้ใจจากองค์กรชั้นนำ และหน่วยงานรัฐ เราสามารถหา Solution ที่เหมาะกับองค์กรของคุณได้ ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญของเราเพื่อรับคำปรึกษาเกี่ยวกับ Cyber Security ได้ที่

: 02-693-1989

: Sales@extend-it-resource.com


44 views0 comments
logo extend it resource X10

PRODUCTs

MuleSoft Footer.png
Salesforce authorized cloud reseller footer.png
talend logo
X10-product-axway
elastic search logo

QUICK LINK

We are founded by experienced IT resource management people who have international and local experiences. Working with us makes you rest assured that your Technology project will succeed in the time frame.

Bangkok , Thailand.

E-Mail : sales@extend-it-resource.com

Phone : 02-693-1989

snowflake logo
camunda logo
confluent logo

SOCIAL MEDIA

i-sprint-logo-min-1.png
hsg core bank footer.png
boomi api footer.png
Kong logo
  • Facebook
  • LinkedIn
bottom of page