top of page

การใช้งาน API ในการทำงานของธุรกิจ พร้อม Use case ใน 5 ธุรกิจ


การใช้งาน API ในการทำงานของธุรกิจ พร้อม Use case ใน 5 ธุรกิจ

สำหรับหลายๆธุรกิจ การใช้ API ในการดำเนินงานในแต่ละวันไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไป องค์กรที่ต้องการจัดการบูรณาการ API (API integrations) ในระบบและแอปพลิเคชันที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เวลาที่ใช้ในการสร้างการผสานรวมเหล่านี้ใหม่ตั้งแต่ต้นอาจเป็นเรื่องยุ่งยากและทำให้เปลืองทรัพยากรภายใน การทำ API Management จึงช่วยให้องค์กรมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งเราสรุปประโยชน์ของการใช้ API Management ออกมาได้ดังนี้


  • ความสะดวกสบายในการจัดการ: ความสามารถในการปรับใช้และนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพถือเป็นข้อดีที่โดดเด่นของการใช้ API Management ด้วยการจัดการ API ทั้งหมดบนแพลตฟอร์มที่รวมเป็นหนึ่งเดียวและมองเห็นได้จากส่วนกลาง องค์กรต่างๆ ช่วยลดภาระในการจัดการและควบคุม API ให้คุณสามารถจัดการหลายๆ API ในที่เดียว นอกจากนี้ยังช่วยลดเวลาในการปรับปรุง ช่วยตอบสนองความต้องการของ Developer และลูกค้า ซึ่งช่วยลดต้นทุนการพัฒนาและเร่งระยะเวลาในการนำ Software หรือ Application ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น


  • ความปลอดภัย: API Management ช่วยในการควบคุมการเข้าถึง API และป้องกันการโจมตีที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ข้อมูลและระบบของคุณปลอดภัย และยังช่วยรักษาบริการที่มีอยู่ให้ปลอดภัยยิ่งขึ้นโดยการติดตามการใช้ API และอนุญาตให้รวมโปรโตคอลความปลอดภัยที่ล้ำสมัย รวมถึง OAuth, JWT และ OpenID


  • วิเคราะห์และรายงาน: คุณสามารถดูข้อมูลการใช้งาน API และรายงานเกี่ยวกับประสิทธิภาพของ API เพื่อปรับปรุงคุณภาพและสร้างรายงานเพื่อดูแนวโน้มและการใช้งานได้อย่างง่ายมากขึ้นใน Dashboard เดียว


มาดูภาพรวมของการใช้งาน API ใน 5 ธุรกิจหลักในปัจจุบัน


การเงินและธนาคาร

1. การเงินและธนาคาร

ธนาคารหลายแห่งมีการพัฒนา API เพื่อเชื่อมต่อการทำธุรกรรมระหว่างพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ เช่น การโอนเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ การชำระเงินด้วย QR code การใช้ Internet Banking เป็นต้น ซึ่งในปี 2023 หลายธนาคารในประเทศไทยได้เริ่มเปิดตัว API เพื่อให้ Third Party สามารถพัฒนาแอปพลิเคชันที่ใช้ข้อมูลการเงินของลูกค้าในการสร้างบริการใหม่ ๆ ที่มีความยืดหยุ่นและทันสมัยมากขึ้น 


การขนส่งและโลจิสติกส์

2. การขนส่งและโลจิสติกส์

ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ใช้ API ในการให้ข้อมูลสถานะพัสดุแบบ Real-Time แก่ลูกค้า โดยใช้บริษัทขนส่งจะใช้ API เพื่อบูรณาการระบบการขนส่งต่าง ๆ ช่วยให้การจัดการเส้นทางและการจัดส่งสินค้าเป็นไปถูกต้องแม่นยำ


E-Commerce Platform

3. E-Commerce Platform

แพลตฟอร์มหรือร้านค้าออนไลน์มีการใช้ API เพื่อเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการต่าง ๆ อาทิผู้ให้บริการด้านการเงิน เช่น Promtpay, 2C2P, และ PayPal ผู้ให้บริการด้านการขนส่ง เช่น Kerry, J&T และ Flash เป็นต้น เนื่องจากการเชื่อมต่อไปยังผู้บริการที่มีความเชี่ยวชาญ ช่วยลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการพัฒนาระบบต่าง ๆ ที่จำเป็นขึ้นมาเอง และ API ยังช่วยในเรื่องระบบการจัดการสินค้าและคำสั่งซื้อ ช่วยให้ร้านค้าออนไลน์จัดการสินค้าคงคลังและคำสั่งซื้อถูกต้อง


การท่องเที่ยวและโรงแรม

4. การท่องเที่ยวและโรงแรม

API ถูกใช้ในการเชื่อมต่อกับระบบการจองต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ให้บริการจองตั๋วเครื่องบิน หรือโรงแรม เราอาจจะเคยเห็นเว็บไซต์ที่รวบรวมดิลพิเศษจากทุกๆ สายการบินมาไว้ในที่เดียว ซึ่งนี่ก็คือการนำ API มาเชื่อมต่อระบบการจอง เพื่อให้ผู้ใช้งานอย่างเราสามารถทำรายการสั่งซื้อและเลือกดูราคาที่พึงพอใจที่สุดได้ง่าย ๆ


การบริการด้านสุขภาพ

5. การบริการด้านสุขภาพ

ตอนนี้มีแอปพลิเคชั่นพบคุณหมอเกิดขึ้นมากมาย การให้คำปรึกษาหรือบริการสุขภาพทางไกลเริ่มเป็นที่นิยม การใช้ API เข้ามาช่วยในการเชื่อมต่อกับระบบสุขภาพก็ช่วยให้ระบบสาธารณสุขเข้าถึงผู้คนมากยิ่งขึ้นตัวอย่างเช่น การยืนยันตัวตนของผู้ป่วยในระบบ ระบบการติดตามการจัดส่งยา ดูประวัติการรักษาแบบออนไลน์ได้ทันที และเชื่อมต่อระบบการจัดการข้อมูลผู้ป่วย ช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างแผนกต่าง ๆ เป็นไปอย่างปลอดภัย


ที่ X10 เรามีนักพัฒนา API ที่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ในการ implement ให้กับองค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่จำนวนมากในธนาคาร (FSI) การค้าปลีก (Retail) และ สุขภาพ (Health)


หากองค์กรท่านต้องการรับคำปรึกษาในการวาง implement strategy การวางโครงสร้าง การพัฒนา API รวมถึงการดูแลรักษา API สามารถติดต่อมาได้ที่


☎️: 080-265-1277


94 views0 comments

Comments


bottom of page